Thursday, 10 January 2013

การเดินออกกำลังที่ถูกวิธี


รูปจากอินเตอร์เนท

การเดินออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว วันนี้จะมาลองดู 7 วิธีที่ถูกต้องในการเดินออกกำลังกาย แล้วมาดูกันว่า ทั้ง 7 ข้อนี้ เพื่อนๆ เป็นกันบ้างหรือเปล่า

1. เดินตัวตรง โดย บอนนี่ สไตน์ โค้ชกีฬาเดินเร็วได้กล่าวว่า "นักเดินหลายคนบาดเจ็บขึ้นมา เพราะเขาไม่เดินให้ลำตัวเหยียดตรง" ซึ่งการเดินตัวโค้งงอไม่ว่าจะงอไปด้านหน้าหรืองอไปด้านหลังนั้นเป็นเรื่องของบุคคลิกภาพที่ไม่ดีเกิดขึ้น รวมทั้งทำให้ร่างกายไม่เกิดความสมดุลกับตัวเองอีกด้วย ทำให้ร่างกายช่วงล่างเกิดความเครียดก่อให้เกิดความเจ็บปวด
วิธีที่ดี : เดินให้ตัวตรงศรีษะตรงกับกระดูกสันหลัง นั่นเป็นการเิดินที่ดี

2. เดินแกว่งแขนแบบพอเหมาะ ไม่แกว่งมากหรือน้อยจนเกิดไป ถ้าคุณแกว่งแขนแรงเกินไปจำทำให้พลังงานถูกส่งออกไปทางแขนมากเกินไป ทำให้เกิดการเสียสมเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้แนวทางที่คุนเดินไปนั้นเปลี่ยนเส้นทางได้ หรือแม้แต่การแกว่งแขนที่น้อยเกินไปก็อาจก่อให้คุณเดินได้ช้าลงเพระแรงที่แขนถูกหน่วงไว้
วิธีที่ดี : รัษาข้อศอกให้อยู่ข้างลำตัว อย่าแกว่งออกด้านข้าง และไม่แกว่งสูงไปกว่าระดับอก

3. ก้าวพอดี การเดินแบบก้าวยาวเกินไปอาจคิดว่าไปเร็วแต่มันเป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังค่อนข้างมาก เหมือนกับการลากตัวเองไป ทำให้เมื่อเดินไปนานๆแล้ว ความเร็วก็จะลดลง(เหนื่อย)  เพราะสูญเสียพลังงานเยอะนั่นเอง
วิธีที่ดี : สไตน์ แนะนำว่า เพื่อที่จะหาว่าคุณควรจะก้าวเท้าให้ยาวแค่ไหน ให้ยืนตัวตรง และยื่นเท้าข้างออกไปข้างหน้าไม่ต้องมากนั กโดยให้ส้นเท้าเกือบจะลอยจากพื้น เริ่มย้ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ ส้นเท้าที่ยื่นออกไปนั้นจะลดลงมาแตะพื้นและหยุดตัวคุณ นั่นแหละคือตำแหน่งที่เท้าหน้าควรจะอยู่

4. วางเท้าพอเหมาะให้นุ่มนวล ไม่ใช่การวางท้าวแบบรุนแรง(กระทืบ) ลองฟังดูว่าเสียงที่ฝีเท้ากระทบพื้นนั้นรบกวนคนข้างบ้านหรือทำให้ชาวบ้านตื่นหรือไม่ ถ้ารุนแรงไปขอให้เบาลงหน่อยจะดีกับข้อเท้ามาก เพราะเมื่อกระทืบเท้าอย่างรุนแรงจะมีผลให้ข้อเท้ารับแรงมาก(เกิดความเครียดที่เท้า) เมื่อกระทืบเท้ามากๆเข้า ทำให้ความเครียดที่ก่อที่เท้ากลายเป็นความเจ็บปวดขึ้นมา
วิธีที่ดี: แค่วางเท้าให้เบาลงเพื่อไม่ให้ความเจ็บปวดที่เท้าจะทำให้เราเิดินได้นานขึ้น

5. ไม่ถือของหนัก การเดินถือของหนักไปด้วยไม่ได้ช่วยก่อให้เกิดประโยชน์อันใด ยกเว้นแต่ว่าคุณมีแผนจะยกของหนักไปทำธุรที่อื่น ดังนั้นถ้าเป็นไปได้จึงไม่ควรถือของหนักเวลาเดินออกกำลังกาย เพราะว่าถ้าเดินออกกำลังกายโดยถือของหนักไปด้วยจะทำให้แขนและไหล่รับภาระหนักในการบันทุกของเข้าไปด้วย
วิธีที่ดี : ไม่ควรถืออะไรในขณะเดินออกกำลังกาย

6. อุ่นเครื่องก่อนเดินออกกำลังกาย เป็นเรื่องปกติที่เราต้องทำอยู่แล้วห้ามขี้เกียจโดยเด็ดขาด การอุ่นเครื่องโดยการวอร์มอัพร่างกายแบบเบาๆ ทำให้ร่างกายเราพร้อมรับการออกกำลังกายได้ทุกรูปแบบ ข้อเสียของการไม่อุ่นเครื่องคือ อาจทำให้เส้นเอ็นขาดหรือกล้ามเนื้อฉีกได้เมื่อออกกำลังกายอย่างหนัก
วิธีที่ดี : วอร์มอัพร่างกาหรือเดินอย่างช้าๆ ก่อน เพื่อทำให้ร่างกายพร้อม

7. ค่อยๆ หยุด เมื่อสิ้นสุดการออกกำลังกาย ให้ค่อยๆหยุด เมื่อเราออกกำลังกายเสร็จแล้ว ไม่ใช่การหยุดโดยกระทันหัน การหยุดโดยกระทันหันทำให้หัวใจเต้นเร็วโลหิตจะสูบฉีดรุนแรงทำให้เกิดการมึนงงได้ และรู้สึกหัวใจเต้นเร็วและร้อนขึ้นอีกด้วย ให้ค่อยๆ หยุดเพื่อ หัวใจจะเต้นช้าลงโลหิตสูบฉีดเบาลง จะเป็นผลดีต่อร่างกายมากกว่า
วิธีที่ดี : ค่อยๆ หยุด โดยวอร์มอัพเบาๆ หรือเดินช้าลง สัก 5-10 นาทีหลังออกกำลักายเสร็จ

No comments:

Post a Comment