Friday 29 March 2013

รักษาเบาหวานโดยไม่ต้องใช้ยา





ทุกวันนี้ผู้ป่วยเบาหวานส่วนมากจำเป็นต้องใช้ยาและไปหาหมอเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กันเป็นประจำ และเมื่อประมาณ สี่ปีก่อน นี้ ได้มีผลงานวิจัยจากกลุ่มที่ชื่อว่า
“Action to Control Cardiovascular Risk in Diabetes” (ACCORD) ซึ่งได้รับทุนจากรัฐบาล (สหรัฐอเมริกา) ในการศึกษาประสิทธิผลของยาชนิดต่างๆ ในการลดผลการเกิดหัวใจวาย และตาย จากโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  

แต่ว่าทาง ACCORD ได้พบนั้นตรงกันข้าม จากการศึกษาในผู้ที่เข้าร่วมซึ่งต้องใช้ยาในการลดระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอัตราที่สูงกว่า การรักษาด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (“Intensive blood sugar-lowering treatment”) จากข้อพิสูจน์ดังกล่าว เราได้ทำการหยุดการทดลองหลังจากการศึกษาไปได้ 18 เดือน (เพื่อป้องกันผู้เข้าร่วมก่อนที่ยาจะทำให้เกิดอันตราย)



และเกี่ยวกับโรคแทรกซ้อนของเบาหวานล่ะ ?
เบาหวานคือสาเหตุอันดับหนึ่งของอาการตาบอด, ตัดแขนขา, ไตล้มเหลว และความเจ็บปวดจากระบบประสาท ในบทความ Business Week คุณ Norton Hadler, MD ของมหาวิทยาลัย Nort Carolina พูดว่า ไม่มี ยาเบาหวาน ที่ทำให้ ขา, ตา, ไต, หัวใจ, หรือสมอง มีสุขภาพที่ดี
ในความเห็นของผม จะดีกว่ามากถ้าไม่ต้องใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 การรักษาโดยการลดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าเมื่อใช้ยามันเป็นสิ่งที่ไม่ดีอย่างแน่นอน

ถ้าไม่ใช้ยา แล้วทำงัยล่ะ ?
มีขั้นตอนการรักษาที่เราแนะนำของสถาบัน Whitaker Wellness Institute สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
1. ลดน้ำหนัก การลดน้ำหนักเป็นการรักษาเบาหวานที่ได้ผลดี ต้องการแค่ การจำกัดอาหาร การออกกำลังกาย และความตั้งใจ
2. อาหารการกิน อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรจะมีน้ำตาลต่ำ เป็นอาหารสไตล์ เมดิเตอเรเนียน ซึ่งมีผักเป็นส่วนผสมหลัก และมีโปรตีนแเช่น ปลา และ ไก่หรือเป็ด, กินผลไม้, และหลีกเลี่ยงอาหารจากน้ำตาล,แป้งพาสตา,ขนมปัง ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
3. ออกกำลังกาย ด้วยการเดินอย่างเร็วหลังจากกินอาหารซัก 10 นาที ออกกำลังกายให้เป็นประจำ ซึ่งจะข่วยในการเผาพลาญแคลลอรี่ และสร้างกล้ามเนื้อ และทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินดีขึ้น
4. อาหารเสริมทาง ในการป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ของลำเลือด, เส้นประสาท,ตา และ ไต ให้กิน โปรตีน, สารต้านอนุมูลอิสระที่อุดมด้วยวิตามินทุกวันเพื่อทดแทนสารอาหารที่จะสูญหายไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่เป็นผลมาจากสภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน. เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ให้ ใช้ซัลเฟต vanadyl 100 mg, อัลฟาไลโปอิคเป็นกรด 200 mg โครเมียม 200 mcg, อบเชย 500-1,000 มก. , Gymnema sylvestre 400 มก. และ berberine 1500 มก. ต่อวัน อาจจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือผสมกันก็ได้




ค้นหา
ข้อมูลเพิ่มเติม :
“Action to Control Cardiovascular Risk in Diabetes”

Thursday 10 January 2013

การเดินออกกำลังที่ถูกวิธี


รูปจากอินเตอร์เนท

การเดินออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว วันนี้จะมาลองดู 7 วิธีที่ถูกต้องในการเดินออกกำลังกาย แล้วมาดูกันว่า ทั้ง 7 ข้อนี้ เพื่อนๆ เป็นกันบ้างหรือเปล่า

1. เดินตัวตรง โดย บอนนี่ สไตน์ โค้ชกีฬาเดินเร็วได้กล่าวว่า "นักเดินหลายคนบาดเจ็บขึ้นมา เพราะเขาไม่เดินให้ลำตัวเหยียดตรง" ซึ่งการเดินตัวโค้งงอไม่ว่าจะงอไปด้านหน้าหรืองอไปด้านหลังนั้นเป็นเรื่องของบุคคลิกภาพที่ไม่ดีเกิดขึ้น รวมทั้งทำให้ร่างกายไม่เกิดความสมดุลกับตัวเองอีกด้วย ทำให้ร่างกายช่วงล่างเกิดความเครียดก่อให้เกิดความเจ็บปวด
วิธีที่ดี : เดินให้ตัวตรงศรีษะตรงกับกระดูกสันหลัง นั่นเป็นการเิดินที่ดี

2. เดินแกว่งแขนแบบพอเหมาะ ไม่แกว่งมากหรือน้อยจนเกิดไป ถ้าคุณแกว่งแขนแรงเกินไปจำทำให้พลังงานถูกส่งออกไปทางแขนมากเกินไป ทำให้เกิดการเสียสมเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้แนวทางที่คุนเดินไปนั้นเปลี่ยนเส้นทางได้ หรือแม้แต่การแกว่งแขนที่น้อยเกินไปก็อาจก่อให้คุณเดินได้ช้าลงเพระแรงที่แขนถูกหน่วงไว้
วิธีที่ดี : รัษาข้อศอกให้อยู่ข้างลำตัว อย่าแกว่งออกด้านข้าง และไม่แกว่งสูงไปกว่าระดับอก

3. ก้าวพอดี การเดินแบบก้าวยาวเกินไปอาจคิดว่าไปเร็วแต่มันเป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังค่อนข้างมาก เหมือนกับการลากตัวเองไป ทำให้เมื่อเดินไปนานๆแล้ว ความเร็วก็จะลดลง(เหนื่อย)  เพราะสูญเสียพลังงานเยอะนั่นเอง
วิธีที่ดี : สไตน์ แนะนำว่า เพื่อที่จะหาว่าคุณควรจะก้าวเท้าให้ยาวแค่ไหน ให้ยืนตัวตรง และยื่นเท้าข้างออกไปข้างหน้าไม่ต้องมากนั กโดยให้ส้นเท้าเกือบจะลอยจากพื้น เริ่มย้ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ ส้นเท้าที่ยื่นออกไปนั้นจะลดลงมาแตะพื้นและหยุดตัวคุณ นั่นแหละคือตำแหน่งที่เท้าหน้าควรจะอยู่

4. วางเท้าพอเหมาะให้นุ่มนวล ไม่ใช่การวางท้าวแบบรุนแรง(กระทืบ) ลองฟังดูว่าเสียงที่ฝีเท้ากระทบพื้นนั้นรบกวนคนข้างบ้านหรือทำให้ชาวบ้านตื่นหรือไม่ ถ้ารุนแรงไปขอให้เบาลงหน่อยจะดีกับข้อเท้ามาก เพราะเมื่อกระทืบเท้าอย่างรุนแรงจะมีผลให้ข้อเท้ารับแรงมาก(เกิดความเครียดที่เท้า) เมื่อกระทืบเท้ามากๆเข้า ทำให้ความเครียดที่ก่อที่เท้ากลายเป็นความเจ็บปวดขึ้นมา
วิธีที่ดี: แค่วางเท้าให้เบาลงเพื่อไม่ให้ความเจ็บปวดที่เท้าจะทำให้เราเิดินได้นานขึ้น

5. ไม่ถือของหนัก การเดินถือของหนักไปด้วยไม่ได้ช่วยก่อให้เกิดประโยชน์อันใด ยกเว้นแต่ว่าคุณมีแผนจะยกของหนักไปทำธุรที่อื่น ดังนั้นถ้าเป็นไปได้จึงไม่ควรถือของหนักเวลาเดินออกกำลังกาย เพราะว่าถ้าเดินออกกำลังกายโดยถือของหนักไปด้วยจะทำให้แขนและไหล่รับภาระหนักในการบันทุกของเข้าไปด้วย
วิธีที่ดี : ไม่ควรถืออะไรในขณะเดินออกกำลังกาย

6. อุ่นเครื่องก่อนเดินออกกำลังกาย เป็นเรื่องปกติที่เราต้องทำอยู่แล้วห้ามขี้เกียจโดยเด็ดขาด การอุ่นเครื่องโดยการวอร์มอัพร่างกายแบบเบาๆ ทำให้ร่างกายเราพร้อมรับการออกกำลังกายได้ทุกรูปแบบ ข้อเสียของการไม่อุ่นเครื่องคือ อาจทำให้เส้นเอ็นขาดหรือกล้ามเนื้อฉีกได้เมื่อออกกำลังกายอย่างหนัก
วิธีที่ดี : วอร์มอัพร่างกาหรือเดินอย่างช้าๆ ก่อน เพื่อทำให้ร่างกายพร้อม

7. ค่อยๆ หยุด เมื่อสิ้นสุดการออกกำลังกาย ให้ค่อยๆหยุด เมื่อเราออกกำลังกายเสร็จแล้ว ไม่ใช่การหยุดโดยกระทันหัน การหยุดโดยกระทันหันทำให้หัวใจเต้นเร็วโลหิตจะสูบฉีดรุนแรงทำให้เกิดการมึนงงได้ และรู้สึกหัวใจเต้นเร็วและร้อนขึ้นอีกด้วย ให้ค่อยๆ หยุดเพื่อ หัวใจจะเต้นช้าลงโลหิตสูบฉีดเบาลง จะเป็นผลดีต่อร่างกายมากกว่า
วิธีที่ดี : ค่อยๆ หยุด โดยวอร์มอัพเบาๆ หรือเดินช้าลง สัก 5-10 นาทีหลังออกกำลักายเสร็จ

Wednesday 9 January 2013

รู้จักกับ อย.


รูปจากอินเตอร์เนท


รู้จักกับ อย.


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นส่วนราชการระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์

อำนาจหน้าที่


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  3. เฝ้าระวังกำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ
  4. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  5. ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
  6. พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ
  7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
________________________________________________________________________________


จะเห็นได้ว่า อ.ย. มีความสำคัญในทางกฏหมายถ้าผู้ประกอบการใดๆ ละเมิดกฎที่ อ.ย.ตั้งไว้ โดยบางครั้ง อ.ย. จะมีการสุ่มตรวจสอบสินค้า ถ้าผิดหลักเกณฑ์ อ.ย. จะถูกลงโทษ หรือถ้าถูกผู้บริโภคร้องเรียนจะถูกตรวจสอบ ถ้าผิดจริงอาจมีผลลงโทษตามกฎหมายได้ 
ดังนั้นก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่อยู่ในกลุ่มอาหารและยา หรือเครื่องสำอางต่างๆ ผู้บริโภคควรสังเกตุสัญลักษณ์ อ.ย. ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย (เพราะ อ.ย. ได้เป็นผู้ทดสอบว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีสรรพคุณตามที่อ้างจริง และไม่มีวัตถุที่ผิดกฎหมาย)

ที่มา : wikipedia

Sunday 16 December 2012

ประโยชน์และโทษของการดื่มของมึนเมา



รูปจากอินเตอร์เนท

ประโยชน์และโทษของการดื่มของมึนเมา
ของมึนเมา(เหล้า เบียร์ ไวน์) ไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์ซะเลยทีเดียวผมได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของการดื่มของมึนเมามาให้ดูกันครับ

ประโยชน์ของการดื่มของมึนเมา (เหล้า เบียร์ ไวน์)

  1. รัฐมีรายได้มากขึ้น เพราะรัฐขึ้นภาษี เหล้า เบียร์ ไว้สูงมาก
  2. เจ้าของและพนักงานผู้ผลิตของมึนเมา รวยขึ้น
  3. เจ้าของและพนักงานผู้ผลิตน้ำแข็ง , โซดา  รวยขึ้น
  4. เจ้าของสถานบริการและพนักงานร้านอาหาร เธค ผับ บาร์ อยู่ได้
  5. คนในวงการโฆษณามีงานทำมากขึ้น เพราะของมึนเมาต้องการการโฆษณา
  6. หมอมีงานทำมากขึ้น เพราะต้องรักษาอาการติดเหล้า ตับแข็ง 
  7. ตำรวจมีงานทำมากขึ้น เพราะคดีที่มาจากเหล้า เช่น ทะเลาะวิวาท ข่มขื่น เมาแล้วขับ
  8. อาจช่วยในการเข้าสังคมได้บ้าง แต่ถ้าดื่มมากเกินไปจะเป็นโทษ


โทษของการดื่มของของมึนเมา (เหล้า เบียร์ ไวน์)

  1. คนดื่มขาดสติได้อาจเปลี่ยนบุคลิกบางส่วนไปด้วย เช่น เงียบครึมเป็นก้าวร้าว
  2. ตับทำงานหนัก ซึ่งตับทำหน้าที่ลำเลียงของเสียออกจากร่างกาย ถ้าเสียเสียหายมากจะทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  3. ทำให้ความสามารถในการทรงตัวลดลงและตัดสินใจลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เมื่อขับรถยนต์
  4. เสียเงินโดยประโยชน์ที่ได้กลับมานั้นไม่คุ้มเลย
  5. เสียเวลา แทนที่จะได้ใช้เวลานั้นอยู่กับครอบครัวหรือทำมาหากิน
  6. ถูกแฟนหรือเมียทิ้งได้
  7. เกิดการเมาค้าง ทำให้ไปทำงานไม่ได้หรือไม่ดี
  8. ภาพลักษณ์เสียเมื่อเมาแล้วอ๊วก หลับ หรือควบคุมสติไม่ได้
  9. อันตรายต่อตัวเองโดยเฉพาะผู้หญิง ถ้าหมดสภาพทำให้ง่ายต่อการโดนข่มขืน
  10. ขับรถแล้วดื่มของมึนเมา ถ้าเกิดอุบัติเหตุจะโดนข้อหาหนักและประกันอาจไม่รับผิดชอบได้
  11. ถ้าดื่มติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีมากเกินจะเป็นพิษสุราเรื้อรัง ทำให้เกิดอาการ สมองเสื่อม หวาดระแวง หูแว่ว หลงผิด คลุ้มคลั่ง


สรุป
จะเห็นว่าประโยชน์ของการดื่มของมึนเมานั้นมีเยอะเลย แต่โดยมากเป็นประโยชน์กับผู้ผลิตและคนที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ใช่คนที่ดื่มนะครับ คนที่ดื่มนั้นมีโทษมากกว่าและร้ายแรงมากกว่าด้วย ลองคิดดูนะครับว่าอยากให้คนที่เกี่ยวข้องกับของมึนเมารวยขึ้นแล้วทำให้ร่างกายเราหรือครอบครัวเราแย่ลง  หรือทำให้ครอบครัวและชีวิตเรารวยขึ้น มีความสุขขึ้น

Saturday 15 December 2012

8 วิธีดูแลสุขภาพ


รูปจากอินเตอร์เนท

8 วิธี ดูแลสุขภาพ
สุขภาพคือสิ่งที่อยู่คู่กับร่างกายมนุษย์ ดังนั้นการดูแลสุขภาพเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อลดโอกาสหรือความเสี่ยงต่อโรคร้ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยสามารถทำได้ง่ายๆ 8 วิธี

1. รับประทานอาหารหลัก 5 หมู่ ให้ครบ 3 มื้อ จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทำให้ร่างกายแข็งแรงต่อภูมิคุ้มกันโรค
2. ไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมาและไม่สูบบุหรี่ การดื่มของมึนเมาทำให้ความสามารถในการตัดสินใจลดลงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และยังทำลายสุขภาพ ถ้าดื่มมากเกินไปทำให้เกิดอาการมึนงง อาเจียร ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็ง ส่วนการสูบบุหรี่เป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งซึ่งพิษของบุหรี่จะไปทำลายปอด
3. ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป ใช้สูตรง่ายๆ
สูตรนี้ เป็นสูตรคิดน้ำหนัก มาตรฐานที่ทางกระทรวงสาธารณสุขรับรองมา ทั้ง 2 สูตร
สูตรที่ 1 : [ความสูง (cm.) - 150] ได้เท่าไหร่ แล้วคูณด้วย 0.7 หลังจากนั้น นำไปบวก กับค่าดังต่อไปนี้
          ผู้ชาย : ? + 50
          ผู้หญิง : ? + 45

สูตรที่ 2[ความสูง (cm.) -100] แล้วคูณด้วยค่าต่างๆ ดังค่อไปนี้คือ

        ผู้ชาย : ? X 0.9 
ผู้หญิง : ? X 0.8
เพียงเท่านี้ คุณก็จะทราบ ถึงน้ำหนัก ที่ค่อนข้าง จะได้มาตรฐาน ที่แท้จริงสำหรับคนไทย 
4. นอนหลับ อย่างเพียงพอ 7-9 ชั่วโมง  ประโยชน์ของการนอนหลับคือ ทำให้ร่างกายเกิดการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ 
ถ้าเราอดนอนจะทำให้เกิดความอ่อนล้าทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งยัง ทำให้ความสามารถในขบวนการคิดระดับสูงลดลง
5. ออกกำลังกาย เป็นประจำ ระหว่างการออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารอดรีนาลีน ทำให้รู้สึกสดชื่น จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต่อโรค และสุขภาพจิตแจ่มใสอีกด้วย
6. ตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการป้องกันและเฝ้าระวังความผิดปกติของร่างกายในช่วงของการก่อกำเนิดโรคร้ายต่างๆ ได้ โดยโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี จะมีการตรวจโรคหลายแบบหลายอย่างด้วยกัน โดยสามารถดูโปรแกรมตรวจสุขภาพของแต่ละโรงพยาบาลที่จัดไว้ให้ได้
7. เข้ารับการรักษาเมื่อมีโรค เช่น เมื่อเจ็บป่วย หรือป่วยเป็นโรคต่างๆ (โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ ฯลฯ ) ให้รีบเข้ารับการรักษาโดยทันที โดยเฉพาะโรคที่ต้องเฝ้าระวังติดตาม เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น

8 อย่าชะล่าใจไม่ฉีดยาหรือวัคซีน เช่น โดนหมากัดแล้วไม่คิดว่าเป็นหมาบ้าไม่ได้ไปฉีดวัคซีน ก็อันตรายถึง ตายได้ หรือโดนสังกะสีบาดแล้วไม่ไปฉีดยากันบาดทะยัก ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นบาดทะยัก ได้ รวมถึงวัคซีนหรือยาอื่นๆ  

Thursday 6 December 2012

ไขมันอิ่มตัวกับไม่อิ่มตัว


รูปจากอินเตอร์เนท

ไขมันอิ่มตัวกับไม่อิ่มตัว
นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งชนิดของไขมันได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ไขมันอิ่มตัว กับ ไขมันไม่อิ่มตัว

ไขมันอิ่มตัว
ไขมันอิ่มตัว ได้จากสัตว์ ไขมันชนิดนี้มักจะอยู่ในเนื้อสัตว์หรือหนังสัตว์ น้ำมันหมู ไข่แดง สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากนม และน้ำมันบางชนิดที่ได้จากพืชด้วย เช่น กรดไขมัน พาลมิติก ที่มีมากในน้ำมันปาล์ม และ น้ำมันมะพร้าว

ไขมันไม่อิ่มตัว
ไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ไขมันไม่อิ่มตัว เชิงซ้อน (หลายตำแหน่ง) ได้จากพืช
2. ไขมันไม่อิ่มตัว เชิงเดี่ยว (ตำแหน่งเดียว)ได้จากพืช และสัตว์น้ำ
ในไขมันไม่อิ่มตัวทั้ง 2 ประเภทนั้นเราพบว่า ไขมันที่ได้มักจะมีผสมกันทั้ง 2 ประเภท ในอัตราส่วนที่ ต่างกัน อาจจะมากบ้างน้อยบ้างในน้ำมันแต่ละชนิด เช่น ในน้ำมันถั่วเหลืองมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนมากกว่าเชิงเดี่่ยว ขณะที่น้ำมันมะกอกและผลเปลือกแข็งและเมล็ดเช่นงา มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวมากกว่าเชิงซ้อนเป็นต้น

สรุปเรื่องไขมัน

1.      ไขมันทรานส์ (เช่นเค้ก คุ้กกี้ ขนมกรุบกรอบ ครีมเทียม เนยเทียม) และไขมันอิ่มตัว (เช่นไขมันสัตว์อย่างหมู วัว น้ำมันปาล์ม) ทำให้เป็นโรคมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยง (เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หัวใจ ฯลฯ)
2.      ไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยป้องกันโรคได้ (เช่นน้ำมันพืชตามธรรมชาติยกเว้นพืชสกุลปาลม์) จึงควรบริโภคแทนไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัว
3.      ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (เช่นน้ำมันมะกอก) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (เช่นน้ำมันถั่วเหลือง) มีอยู่ด้วยกันในอาหารธรรมชาติและดีทั้งคู่ ควรบริโภคควบกันไป ไม่มีข้อมูลสรุปได้เด็ดขาดว่าอะไรดีกว่าอะไร
4.      ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเช่นน้ำมันมะกอกทนความร้อนได้ดีกว่าไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน จึงเหมาะแก่การใช้ปรุงอาหารด้วยความร้อนเช่นการผัดหรือทอดมากกว่า
5.      สำหรับคนเป็นเบาหวานที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งเพิ่ม HDL ได้ อาจจะเอื้อต่อการรักษาโรคเบาหวานได้ดีกว่าแหล่งพลังงานอื่นเช่นคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน


่k-man


Wednesday 5 December 2012

ตรวจสุขภาพ



รูปจากอินเตอร์เนท


ตรวจสุขภาพ
หลายคนอาจยังไม่เคยใส่ใจหรือสนใจในเรื่องของการตรวจสุขภาพ บางคนคิดว่ามันแพง และเสียเวลาการทำงานด้วย ก็ต่างๆ นาๆ กันไป ของแต่ละคนที่เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ แต่ว่าประโยชน์ของการตรวจสุขภาพจริงๆ แล้ว มีประโยชน์มากเลยทีเดียว ซึ่งการจรวจสุขภาพจะช่วยบอกเราเกี่ยวกับโรคที่กำลังก่อตัวขึ้น ก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่านั้น ซึ่งบางครั้งอาการก็หนักจนรักษาไม่ได้แล้ว ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงเป็นการเฝ้าระวัง เกี่ยวกับโรคที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ และให้เรารู้ถึงสภาพที่แท้จริงของร่างกาย

เลือกประเภทและสถานที่ของการตรวจสุขภาพ
ในแต่ละโรงพยาบาลจะมี โปรแกรมตรวจสุขภาพ แตกต่างกันไป บางที่มีโปรแกรมเดียว บางที่มีหลายโปรแกรม และแต่ละโปรแกรม ก็จะมีการตรวจโรคที่ไม่เท่ากัน (โปรแกรมไหนแพง จะมีการตรวจโรคมากกว่าโปรแกรมถูก) ดังนั้นควรดูที่กำลังทรัพย์และความเหมาะสม

เตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มกาแฟ หรือ อดนอน ก่อนการตรวจสุขภาพ
งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้น น้ำดื่ม ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
ถ้าตรวจภายใน (เฉพาะสตรี) ควรสวมใส่กระโปรง และควรตรวจก่อนหรือหลังการมีประจำเดือน 7 วัน
สวมใส่เสื้อที่พับแขนได้สะดวก ไม่รัด เพื่อความสะดวกในการเจาะเลือด
ควรตรวจสุขภาพในช่วงเช้า เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลียจนเกินไป
ไม่ควรออกกำลังกายก่อนการเจาะเลือด เพราะมีผลต่อการตรวจโรค

แพทย์เขาตรวจอะไรบ้าง

  • ตรวจสุขภาถทั่วไปโดยแพทย์
  • เอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
  • ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด
  • ตรวจน้ำตาลในเลือด
  • ตรวจหาการติดเชื้อเอดส์
  • ตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • ตรวจปัสสาวะ

* เป็นตัวอย่างการตรวจ โปรแกรมตรวจจริงๆ จะขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและโปรแกรมที่คุณเลือก

สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพทั่วไป ผลการตรวจคือสภาพร่างกาย ณ ขณะนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตจะไม่มีโรคอะไรเกิดขึ้นเลย ดังนั้นสำหรับคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอยุ่ เช่น คนที่พ่อแม่เป็นเบาหวานเขามีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานอยู่ด้วย ถ้าเขาไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน (ไม่คุมน้ำหนัก ไม่ออกกำลังกาย กินขนมหวานเยอะๆ) จะทำให้เขาเป็นโรคเบาหวานได้ ซักวันหนึ่งอย่างแน่นอน

หรือคนที่ดื่มสุราแต่เจาะเลือดเพื่อดูโรคตับแล้ว ผลเลือดยังเป็นปกติ ก็ยังชะล่าใจดื่มสุราอยู่ ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคตับได้อยู่